บทคัดย่อ:อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐได้พุ่งขึ้นเหนือระดับ 6% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2551
ข้อมูลจากสมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐ ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐได้พุ่งขึ้นเหนือระดับ 6% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2551 และเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยเพื่อการจำนองแบบคงที่ระยะเวลา 30 ปีได้เพิ่มขึ้น 0.07% สู่ระดับ 6.01% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดวิกฤตการเงินและภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยเพื่อการจำนองได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2565 โดยปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ซึ่งเป็นอัตราอ้างอิงสำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
นักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในเดือนนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สูงกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวเป็นข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญตัวสุดท้าย ก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 20-21 ก.ย.
ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 36% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% สู่ระดับ 3.25-3.50% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. และให้น้ำหนัก 64% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ก่อนหน้านี้ นักลงทุนไม่เคยให้น้ำหนักว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมเดือนก.ย. และเพิ่งเริ่มให้น้ำหนัก 18% เมื่อวานนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงเกินคาด
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จากโนมูระคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์หน้า หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเกินคาด ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์จากโนมูระและสถาบันการเงินอื่นต่างคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมรอบนี้ ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% เป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน หลังจากปรับขึ้น 0.75% ทั้งในเดือนมิ.ย.และก.ค.
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยลดลง 0.1% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากปรับตัวลง 0.4% ในเดือนก.ค.เมื่อ เทียบรายปี ดัชนี PPI เพิ่มขึ้น 8.7% ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2564 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.8% จากระดับ 9.8% ในเดือนก.ค.
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือ (โอเปก) ยังคงคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกที่แข็งแกร่งในปี 2565 และ 2566 โดยอ้างถึงสัญญาณว่า เศรษฐกิจในประเทศใหญ่ ๆ ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้แม้จะเผชิญอุปสรรคต่าง ๆ ก็ตาม เช่น อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น โอเปกระบุในรายงานประจำเดือนว่า อุปสงค์น้ำมันจะเพิ่มขึ้น 3.1 ล้านบาร์เรล/วัน ในปี 2565 และ 2.7 ล้านบาร์เรล/วันในปี 2566 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับคาดการณ์ของเดือนก่อนหน้า
ราคาทองฟิวเจอร์ร่วงลงใกล้หลุดระดับ 1,710 ดอลลาร์ โดยปรับตัวลงต่อเนื่องจากวานนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ถึงแม้ทองได้รับการมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ และเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในยามที่ตลาดเผชิญความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจ แต่การที่เฟดมีแนวโน้มเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็ได้บดบังปัจจัยบวกดังกล่าว โดยการดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองทอง เนื่องจากทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย
ขอบคุณข้อมูลจาก : Investing.com
คุณสามารถตรวจสอบรายละเอียดใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex อ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูลหมดไส้หมดพุง แอปเดียวที่จบครบ เรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ตลาด FX ของเอเชียอ่อนค่าลงเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ทรงตัว
เช็คก่อนเทรด ! คุณเป็นนักเทรด FOREX ประเภทไหน ?
สรุปราคาทองคําวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.93 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน
เตือนภัย ! โบรกเกอร์ HTBNB โกง อ้างต้องเสียภาษีถอน 30% อีกแล้ว !!
FOREX.com
อยู่ในการกำกับดูแลFXTM
อยู่ในการกำกับดูแลExness
อยู่ในการกำกับดูแลDoo Prime
การกำกับดูแลในต่างประเทศXM
อยู่ในการกำกับดูแลSaxo
อยู่ในการกำกับดูแลFOREX.com
อยู่ในการกำกับดูแลFXTM
อยู่ในการกำกับดูแลExness
อยู่ในการกำกับดูแลDoo Prime
การกำกับดูแลในต่างประเทศXM
อยู่ในการกำกับดูแลSaxo
อยู่ในการกำกับดูแลFOREX.com
อยู่ในการกำกับดูแลFXTM
อยู่ในการกำกับดูแลExness
อยู่ในการกำกับดูแลDoo Prime
การกำกับดูแลในต่างประเทศXM
อยู่ในการกำกับดูแลSaxo
อยู่ในการกำกับดูแลFOREX.com
อยู่ในการกำกับดูแลFXTM
อยู่ในการกำกับดูแลExness
อยู่ในการกำกับดูแลDoo Prime
การกำกับดูแลในต่างประเทศXM
อยู่ในการกำกับดูแลSaxo
อยู่ในการกำกับดูแล